รวยแค่ไหนถึงยกทรัพย์สิน 2 หมื่นล้านให้สังคม!
ขุมทรัพย์มหาศาล ‘วิกรม กรมดิษฐ์’ ติดอันดับมหาเศรษฐีไทย
วันที่ 17 มี.ค.66 “วิกรม กรมดิษฐ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด และประธานมูลนิธิอมตะ
ได้ประกาศมอบทรัพย์สินส่วนตัวในสัดส่วน 95% มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ให้กับสาธารณะ ภายใต้การบริหารจัดการของมูลนิธิอมตะทรัพย์สินที่ถือในกลุ่มบริษัท อมตะ คอรปอเรชัน จำกัดนั้น
ทำให้หลายคนสงสัยว่า บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด ภายใต้การบริหารงานของ “วิกรม กรมดิษฐ์” มีงบอย่างไร มีสินทรัพย์เท่าไหร่ และมีผลกำไร หรือขาดทุน
จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด
หรือ AMATA เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2537 มีทุนจดทะเบียน 1,150 ลบ. โดย ณ สิ้นปี 2564 มีสินทรัพย์รวม 19,119 ลบ. และมีหนี้สินรวม 9,064 ลบ.
ขณะที่ในปี 2564 อมตะ คอร์ปอเรชั่น มีรายรับรวม 1,225 ลบ. ลดลงจากปีก่อนหน้า -7.47% หรือเท่ากับ 1,324ลบ.ในปี 2563 และมีผลกำไร 623 ลบ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.60% ที่มี 619 ลบ.
คุณ “วิกรม กรมดิษฐ์” นักกิจการและนักเขียนชาวไทย ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการบริหาร (CEO) บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งในประเทศไทย
นอกจากนี้เพื่อให้ตรงตามคอนเซ็ปต์ของคุณวิกรม กรมดิษฐ์ ปราสาทแห่งนี้ยังมีสวนลอยฟ้าที่มีน้ำตกสูงถึง 18.5 เมตร พร้อมสวนหย่อมและธารน้ำจำลอง
ซึ่งมองแล้วยังคงรักษาคอนเซ็ปต์ของสวนป่าดึกดำบรรพ์เหมือนอย่างที่บ้านและออฟฟิศกลางเมืองของคุณวิกรม
โดยต้นไม้ของที่นี่แต่ละต้นล้วนเป็นต้นที่มีเอกลักษณ์และความสวยงามของตนเอง คราวนี้แหละที่เราจะมีโอกาสได้เห็นความยิ่งใหญ่ที่เปรียบเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งของ เศรษฐีเมืองไทยอย่างคุณวิกรม กรมดิษฐ์
สำหรับประวัติ ที่ได้เผยแพร่ในเว็บไซต์มูลนิธิอมตะ นายวิกรม กรมดิษฐ์ เกิดวันอังคารที่ 17 มีนาคม 2496 จ.กาญจนบุรี เป็นบุตรชายคนโตของตระกูล
มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดารวม 21 คน จบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกลจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน
มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อในกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปี พ.ศ. 2518 เมื่อเรียนจบได้กลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นธุรกิจนำเข้าส่งออก ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม 2 แห่งในประเทศไทย
และอีก 1 แห่งในประเทศเวียดนาม มีโรงงานกว่า 1300โรง มียอดการผลิตที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งสองประเทศมูลค่าการผลิตกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีประชากรที่ทำงานในนิคมทั้งหมดกว่า 3 แสนคน